คุณกำลังมองหาอะไร?

วามรู้เกี่ยวกับไซยาไนด์

กรมอนามัย พร้อมให้ข้อมูลข่าวสารที่มีประโยชน์สำหรับคุณ

07.09.2563
14636
0
แชร์
07
กันยายน
2563

 

ความรู้เกี่ยวกับไซยาไนด์

     ไซยาไนด์ “  ชื่อนี้คงจะคุ้นหูว่าเป็น “ ยาพิษ “  ที่มักใช้กินเพื่อฆ่าตัวตาย ขณะเดียวกันคนส่วนใหญ่ก็ยังไม่เคยเห็นหน้าตาของไซยาไนด์เสียด้วยซ้ำไป จากข่าวที่มีนักโทษพยายามจะระเบิดเรือนจำกลาง จังหวัดขอนแก่นแต่ไม่ประสบความ สำเร็จ จึงพยายามฆ่าตัวตายด้วยการกลืนยาพิษ ซึ่งตอนแรกคาดกันว่าเป็นไซยาไนด์ที่มีการซุกซ่อนไว้ หลังจากที่แพทย์ช่วยชีวิตได้ทัน จึงมีการพิสูจน์ปรากฎว่าเป็นเพียงว่านชนิดหนึ่งเท่านั้น เพราะถ้าเป็นไซยาไนด์จริงแม้เพียงเล็กน้อยก็ถึงแก่ชีวิตได้

     สารกลุ่ม “ ไซยาไนด์ “  ที่ควรรู้จักมี 2 ตัวคือตัวหนึ่งเป็นของแข็ง เกลือไซยาไนด์ ซึ่งเป็นโซเดียมไซยาไนด์ หรือ โปรแตสเซียม ไซยาไนด์ ส่วนอีกตัวหนึ่งมีสถานะเป็นก๊าซคือ ไฮโดรเจน ไซยาไนด์ ซึ่งเกิดจากปฏิกิริยา เมื่อเอากรด เช่นกรดเกลือ หรือกรดกำมะถัน ผสมกับเกลือไซยาไนด์ ประการสำคัญคือพิษต่อร่างกายไม่ว่าจะเป็นเกลือไซยาไนด์ หรือก๊าซเป็นอันตรายถึงตายได้เหมือนกัน ก๊าซไฮโดรเจนไซยาไนด์ จึงถูกใช้ในการประหารนักโทษระหว่างสงคราม หลายคนอาจจะเคยเห็นในหนังสงคราม มีการใช้ก๊าซตัวนี้พ่นรมศัตรูล้มตายเป็นจำนวนมาก อย่างไรก็ตามถ้าพูดถึงประโยชน์ก็มี เช่น ใช้ในอุตสาหกรรมผลิตไนล่อน โดยเฉพาะยาฆ่าแมลง ซึ่งใช้กันอย่างแพร่หลายในปัจจุบัน และมักจะมีการใช้อย่างขาดความระมัดระวังในเรื่องความปลอดภัย นอกจากนั้นยังใช้เพื่อสังเคราะห์สารเคมีอื่น ๆ ที่จะนำไปใช้ประโยชน์ต่อไป ขณะที่ในเหมืองทองมีการใช้ไซยาไนด์ในกระบวนการสกัดทอง เป็นต้น เกลือไซยาไนด์ละลายน้ำได้ดี ส่วนก๊าซนั้นก็ละลายในน้ำได้ดีเช่นกัน ไวต่อปฏิกิริยากับตัวออกซิไดซ์ อาจระเบิดได้เมื่อถูกความร้อนหรือเปลวไฟ สำหรับชื่ออื่นของก๊าซไฮโดรเจนไซยาไนด์ ที่ใช้เรียกกันก็มี กรดไฮโดรไซยาไนด์ และ กรด ปรัสซิก เป็นต้น ส่วนอาการของพิษเฉียบพลันของไซยาไนด์คือ หายใจติดขัด ชักและหมดสติ อวัยวะที่ถูกกระทบคือระบบประสาทส่วนกลาง ตับ ไต และระบบหัวใจ

 

ไฟล์ที่เกี่ยวข้อง

cyanide.doc
ขนาดไฟล์ 60KB
ดาวน์โหลด 332 ครั้ง
ดาวน์โหลด
แจ้งไฟล์เสีย

กรมอนามัย
เรามีสาระสุขภาพดีๆ
ส่งตรงถึงคุณ
ทุกวัน